วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ภูมิศาสตร์ประเทศเวียดนาม

     สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam) หรือ ที่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า ประเทศ “เวียดนาม” ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 331,033 ตารางกิโลเมตร เรียงเป็นรูปตัว S ตามแนวฝั่งตะวันตกของทะเลจีนใต้จากเส้นละติจูด 23 ํ 22' เหนือ ถึง 8 ํ 30' เหนือ และลองติจูด 109 ํ 29' ตะวันออก ถึง 102 ํ10' ตะวันออก มีอาณาเขตทิศเหนือติดกับประเทศจีน ทิศใต้และทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดกับทะเลจีนใต้ และ ทิศตะวันตกติดกับ สปป.ลาว และประเทศกัมพูชา พื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 ของเวียดนาม ประกอบด้วย ภูเขาและป่าไม้ บริเวณแผ่นดินทั้งหมดของเวียดนามมีพื้นที่ราว 328,000 ตารางกิโลเมตร นอกจากนั้นเป็นไหล่เขาและหมู่เกาะต่างๆ อีกนับพันเกาะเรียงรายตั้งแต่อ่าวตังเกี๋ยไปจนถึงอ่าวไทย
b ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
b เนื่องจากแผ่นดินของเวียดนามมีลักษณะแคบแต่มีความยาวมาก ทำให้ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศแตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยอาจแบ่งได้เป็น 3 ส่วนคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้
baaภาคเหนือ
bภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงมากมาย โดยเฉพาะเทือกเขาฟานซีปาน (Fansipan) สูงถึง 3,143 เมตร ซึ่งสูงที่สุดในอินโดจีน มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำกุง (Cung) ซึ่งไหลไปบรรจบกับแม่น้ำแดงเป็นดินดอนสามเหลี่ยมที่อุดมสมบูรณ์ (Red River Delta) เหมาะแก่การเพาะปลูกและยังเป็นที่ตั้งของเมืองฮานอย
(Ha Noi) อันเป็นเมืองหลวง นอกจากนี้ ยังมีที่ราบลุ่ม Cao Bang Lang Son และ Vinh Yen รวมถึงอ่าว Halong Bay อันมีชื่อเสียงด้านธรรมชาติที่งดงาม เวียดนามมีชนกลุ่มน้อยหลากหลาย และเนื่องจากพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตอากาศหนาวซึ่งได้รับอิทธิพลกระแสอากาศจากขั้วโลกที่พัดผ่านไซบีเรีย และจีน เข้ามายังเวียดนาม ทำให้มีสภาพภูมิอากาศหนาวเย็น
bภูมิอากาศในเขตภาคเหนือแบ่งออกได้เป็น 4 ฤด คือ
ba ฤดูใบไม้ผล (มีนาคม-เมษายน) มีฝนตกเล็กน้อยและความชื้นสูง อุณหภูมิประมาณ 17 ํ C - 23 ํ C
ba ฤดูร้อน (พฤษภาคม-สิงหาคม) อากาศร้อนและมีฝน อุณหภูมิประมาณ 30 ํC - 39 ํ C  เดือนที่ร้อนที่สุดคือ มิถุนายน
ba ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน-พฤศจิกายน) อุณหภูมิ 23 ํC - 28 ํ C
ba ฤดูหนาว (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) อากาศจะหนาวเย็นที่สุดในรอบปี คือ ประมาณ 7 ํC - 20 ํ C แต่ในบางครั้งอุณหภูมิอาจลดลงถึง 0 ํ C  เดือนที่หนาวเย็นที่สุดคือ มกราคม
bเมืองสำคัญทางภาคเหนือ ได้แก่
ba ฮานอย (Ha Noi) เป็นเมืองหลวง มีพื้นที่ประมาณ 921 ตารางกิโลเมตร ประชากร 2.2 ล้านคน ตั้งอยู่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง โดยมีแม่น้ำมากมายไหลผ่าน ได้แก่ The Duong, The Cau, The Ca Lo,
The Day, The Nhue, The Tich, The To Lich และ The Kim Nguu นอกจากนี้ ฮานอยยังเป็นศูนย์กลางการบริหารประเทศและเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าทางภาคเหนือ มีสนามบินนานาชาติที่สำคัญคือ Noi Bai International Airport
ba ไฮฟอง (Hai Phong) มีพื้นที่ 1,503 ตารางกิโลเมตร ประชากรราว 1.7 ล้านคน เป็นเมืองท่าสำคัญในภาคเหนือและเป็นเขตอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเคมี ต่อเรือ และวัสดุก่อสร้าง มีท่าเรือสำคัญคือ Hai Phong Port และสนามบิน Cat Bi Airport
ba กว๋างนินห์ (Quang Ninh) มีพื้นที่ 5,899 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 1 ล้านคน กว๋างนินห์เป็นเมืองท่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเวียดนาม มีท่าเรือสำคัญได้แก่ Hon Gai Port นอกจากนี้ ยังเป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรมากมาย อาทิ ป่าไม้ และเป็นแหล่ง ถ่านหินใหญ่ที่สุดในประเทศ รวมทั้งมีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามมีชื่อเสียงระดับโลก คือ อ่าวฮาลอง (Ha Long Bay)
ba เซินลา (Son La) มีพื้นที่ 14,055 ตารางกิโลเมตร ประชากร 9 แสนคน โดยพื้นที่กว่าร้อยละ 80 เป็นไหล่เขา ซึ่งเหมาะแก่การทำฟาร์มโคนม มีสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ชาดำ
ba ลายเจิว (Lai Chau) มีพื้นที่ 7,365 ตารางกิโลเมตร ประชากร 2 แสนคน มีสนามบินคือ Dien Bien Phu Airport
ba เตวียนกวาง (Tuyen Quang) มีพื้นที่ 5,868 ตารางกิโลเมตร ประชากร 7 แสนคน เป็นจังหวัดที่อุดมไปด้วยป่าไม้ และไม้มีค่าต่างๆ รวมถึงพืชสมุนไพรกว่า 1,000 ชนิด
ba หลาวกาย (Lao Cai) มีพื้นที่ 8,057 ตารางกิโลเมตร ประชากร 6 แสนคน มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์และไม้หายากหลายชนิด อาทิ Po Mu (Fukiena), Lat Hoa (Chukrasia Tabulario Cho Chi) รวมถึงพืชสมุนไพรและสัตว์หายากอื่นๆ เช่น กวาง หมูป่า เสือ เป็นต้น เมืองท่องเที่ยวสำคัญคือ เมืองซาปา (Sa Pa) ซึ่งอยู่บนภูเขาสูงและมีภูมิอากาศคล้ายยุโรป
baa ภาคกลาง
bภาคกลางของเวียดนามยังมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่มากมาย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงซึ่งเต็มไปด้วยหินภูเขาไฟ หาดทราย เนินทราย และทะเลสาบ เป็นเขตพื้นที่ป่าไม้สำคัญที่สุดของเวียดนาม สภาพภูมิอากาศค่อนข้างร้อนตลอดปี และมีเพียง 2 ฤดูคือ
ba ฤดูฝน (พฤษภาคม-ตุลาคม) เดือนที่อากาศร้อนที่สุดคือ มิถุนายน-กรกฎาคม อุณหภูมิเกือบ 40 ํC
ba ฤดูแล้ง  (ตุลาคม-เมษายน)  เดือนที่อากาศเย็นที่สุดคือ มกราคม อุณหภูมิเกือบ 20 ํC
bเมืองสำคัญทางภาคกลาง ได้แก่
ba ถัวเทียน - เว้ (Thua Tien - Hue) มีพื้นที่ 5,009 ตารางกิโลเมตร ประชากร 1 ล้านคน เป็นอดีตเมืองหลวงของเวียดนาม ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ
ba ดานัง (Da Nang) มีพื้นที่ 1,256 ตารางกิโลเมตร ประชากร 7 แสนคนเป็นศูนย์กลางธุรกิจ การท่องเที่ยว และเป็นเมืองท่าสำคัญ โดยมีสนามบินคือ Da Nang Airport และท่าเรือ Tien Sa Seaport
baaภาคใต้
b แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นที่ราบสูง แต่ก็มีที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (Mekong River Delta หรือที่รู้จักกันในชื่อ กู๋ลองยาง - Cuu Long Giang) อันอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเพาะปลูกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของนครโฮจิมินห์  (Ho Chi Minh City) หรืออดีตไซ่ง่อน (Saigon)
bภูมิอากาศของภาคใต้ค่อนข้างร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ  27 ํ C   มี 2 ฤดูเช่นเดียวกับภาคกลาง คือ
ba ฤดูฝนช่วงเดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน เดือนที่อากาศร้อนที่สุดคือเมษายน อุณหภูมิประมาณ 39 ํC
ba ฤดูแล้งช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน เดือนที่อากาศเย็นที่สุดคือ มกราคม  อุณหภูมิประมาณ 26  ํC
bภาคใต้มีเมืองสำคัญ ได้แก่
ba ฮจิมินห์ (Ho Chi Minh City) มีพื้นที่ 2,095 ตารางกิโลเมตร ประชากร 5.4 ล้านคน เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า การนำเข้าส่งออก และเป็นเมืองท่าสำคัญ โดยมีสนามบินนานาชาติ Tan Son Nhat Airport และมีท่าเรือ Saigon Port โฮจิมินห์ ได้รับฉายาว่า "ไข่มุกแห่งเอเชียตะวันออก"
ba เกิ่นเธอ (Can Tho) มีพื้นที่ 1,390 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 1.1 ล้านคน เป็นเมืองอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารที่สำคัญ และเป็นแหล่งปลูกข้าวใหญ่ที่สุดของเวียดนาม
ba เตี่ยนยาง (Tien Giang) มีพื้นที่ 2,367 ตารางกิโลเมตร ประชากร 1.6 ล้านคน เนื่องจากเตี่ยนยางตั้งอยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งมีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชเขตร้อน จึงเป็นแหล่งผลิตข้าวและผลไม้ต่างๆ อาทิ ทุเรียน มะม่วง รวมถึงผลไม้เมืองร้อนชนิดอื่นๆ
ba บาเรีย - หวุงเต่า (Ba Ria - Vung Tau) มีพื้นที่ 1,975 ตารางกิโลเมตร ประชากร 8 แสนคน เป็นเมืองที่มีการผลิตน้ำมันดิบและก๊าชธรรมชาติ โดยเวียดนามสามารถผลิตน้ำมันได้มากที่สุดในคาบสมุทรอินโดจีน แหล่งผลิตสำคัญอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง เรียกว่า "Bac Ho" หรือ "White Tiger"
แผนภาพที่ 1 จังหวัดต่างๆ ในเวียดนาม
ที่มา : http://www.exportimportvietnam.com/country.php
bเวียดนามเป็นประเทศที่มีรูปร่างลักษณะเป็นแนวยาว ดังแสดงในแผนภาพที่ 1 และมีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงกั้นระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ทางตอนเหนือและใต้ แม้ในปัจจุบันเวียดนามมีภูเขาที่มี
ป่าหนาทึบร้อยละ 20 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามเวียดนามก็เป็นหนึ่งในสิบหกประเทศทั่วโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุด อีกทั้งมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่หลากหลาย จึงทำให้เวียดนามมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย  มีแม่น้ำไหลผ่านหุบเขาและที่ราบมากกว่า 2,800 สาย โดยเป็นแม่น้ำที่มี
ความยาวมากกว่า 10 กิโลเมตรกว่า 2,300 สาย มีพื้นที่ป่าเขตร้อนมากถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ รวมถึงป่าชายเลนที่มีพื้นที่ประมาณ 2 แสนเฮกตาร์ (1.25 ล้านไร่) โดยมีพันธุ์ไม้ 13, 000 ชนิด มีรุกขชาติมากกว่า 7,000 ชนิด แบ่งเป็น 239 สายพันธุ์ เป็นแหล่งกำเนิดน้ำมัน ยาง ไม้และพืชสมุนไพรมากมาย ที่ราบสูง
เหมาะแก่การปลูกพืชเขตหนาว เช่น กาแฟ ใบชา ปอ และในบริเวณที่ราบลุ่มเหมาะแก่การปลูกพริกไทย ยางพารา ข้าว นอกจากนี้ ยังมีสัตว์ป่ามากมาย 15,000 ชนิด(1) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากกว่า 270 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 180 ชนิด นก 1,000 ชนิด และปลา 1,000 ชนิด โดยเป็นสายพันธุ์เดียวกับสัตว์ในอ่าวเบงกอล และคาบสมุทรมลายู
bนอกจากนี้ เวียดนามยังมีสินแร่ที่ค้นพบแล้วมากกว่า 2,000 ชนิด โดยหลายชนิดมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและมีปริมาณมากพอสำหรับการขุดเจาะในเชิงพาณิชย์ เช่น เหล็ก พบมากในจังหวัดท้ายเหวียน (Thai Nguyen) และในบริเวณลุ่มแม่น้ำแดง ถ่านหิน โดยเฉพาะถ่านหินแอนทราไซต์ที่มีคุณภาพดีให้ความร้อนสูง ใช้ในอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก พบมากในจังหวัด กว๋างนินห์ (Quang Ninh) และบริเวณที่ราบสูงเตเหงียนในแถบตอนกลางของประเทศ ทองแดง พบในจังหวัดเซินลา (Son La) ทองพบที่จังหวัดกว๋างนัม (Quang Nam) และหลั่งเซิน (Lang Son) รวมถึงก๊าซธรรมชาติและน้ำมันที่พบมากบริเวณชายฝั่งบาเรีย-หวุงเต่า (Baria - Vung Tau)
bอย่างไรก็ตาม จากการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการทำลายป่าไม้ สัตว์ป่า และมีการขุดเจาะแร่ธาตุต่างๆ เพื่อใช้ในเชิงเศรษฐกิจจำนวนมาก ทำให้ปริมาณทรัพยากรที่มีอยู่ลดลงอย่างรวดเร็ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น