วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม

aa ลักษณะทางสังคมวัฒนธรรม
bแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเป็นสังคมนิยม  โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นองค์กรทางการเมืองสูงสุด แต่เวียดนามนับเป็นประเทศหนึ่งในคาบสมุทรอินโดจีนที่มีขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมเก่าแก่ที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลานาน และยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบัน
aa วิถีชีวิตของชาวเวียดนาม
bเวียดนามมีความสัมพันธ์กับจีนมาก่อนการปฏิวัติระบบการปกครอง จึงทำให้มีความเชื่อ ศิลปะ
วิถีการดำรงชีวิต ตลอดจนประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ ที่ใกล้เคียงกับจีน ลัทธิความเชื่อต่างๆ ของจีนได้แพร่ขยายมายังเวียดนามด้วย ทั้งลัทธิขงจื๊อที่ให้ความสำคัญต่อการนับถือบรรพบุรุษ ลัทธิเต๋า ที่สอนเรื่องความสมดุลของธรรมชาติ  รวมไปถึงศาสนาพุทธนิกายมหายานที่สอนเรื่องกรรมดีและกรรมชั่ว แม้ว่ารัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเวียดนามจะทำลายความเชื่อและศาสนาส่วนหนึ่งไปในช่วงปฏิวัติระบบการปกครอง แต่ปัจจุบันมีการผ่อนปรนมากขึ้น โดยอนุญาตให้มีนักบวชในศาสนาพุทธและศาสนาอื่นๆ ได้
อีกทั้งพลเมืองส่วนหนึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมสืบทอดมาจน ถึงปัจจุบัน
b ชาวเวียดนามยังมีความนับถือสวรรค์หรือที่เรียกว่า "องเตร่ย (Ong Troi)" และเชื่อว่าทุกหนทุกแห่งมีเทพเจ้าสถิตย์อยู่ ไม่ว่าจะเป็นเทพเจ้าดิน เทพเจ้าน้ำ หรือเทพเจ้าอื่นๆ ดังนั้น นอกจากวัดในศาสนาพุทธ
(จั่ว - Chua) ศาลาประชาคม (ดินห์ - Dinh) หรือแท่นบูชาจักรพรรดิในอดีต (เดน - Den) แล้ว ยังมีการตั้งแท่นบูชาเทพเจ้า (เหมียว - Mieu) กระจายอยู่โดยทั่วไป ประชาชนนิยมนำดอกไม้ ธูป เทียน และผลไม้มาสักการะบูชาในวันที่ 1 และ 15 ค่ำ นอกจากนี้ คำสอนของขงจื๊อก็ยังคงอิทธิพลอยู่ในเวียดนาม ทำให้ชาวเวียดนามให้ความสำคัญกับการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ
เทศกาลทางศาสนาสำคัญที่สุด คือ "เต๊ดเหวียนดาน (Tet Nguyen Dan)" แปลว่า “เทศกาลแห่ง
รุ่งอรุณแรกของปี” ที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า “เทศกาลเต๊ด (Tet)” ซึ่งเริ่มต้นขึ้น 1 สัปดาห์ก่อนจะถึงวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติคือ อยู่ระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ในวันขึ้น 15 ค่ำ ของวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลเส้นศูนย์สูตรมากที่สุดในฤดูหนาวกับวันที่กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน (วิษุวัต) ในฤดูใบไม้ผลิ เทศกาลนี้เป็นการเฉลิมฉลองในภาพรวมทั้งหมดของความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า และขงจื๊อ ศาสนาพุทธ รวมถึงการเคารพบรรพบุรุษ
bชาวเวียดนามจะทำเสาไม้ไผ่สูงเรียกว่า "ไกเนว (Cayneu)" แปลว่า "ต้นไม้สัญญาณ" แขวนด้วยป้ายดินเหนียว "แคงห์ (Khnah)" มีผ้าเหลืองติดอยู่บนยอดเสา มีเสียงดังกังวานติดไว้หน้าบ้านเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า เพื่อป้องกันพวกปีศาจหรือวิญญาณชั่วร้ายที่จะมารบกวน อาหารประจำเทศกาลคือ "บ๋านจุง (Banh Chung)" ที่ทำจากข้าวเหนียวสอดไส้หมู ถั่ว และหัวหอมแห้ง นอกจากนี้ ยังต้องจุดประทัดเพื่อขับไล่ปีศาจ "มากุ่ย (Ma Qui)" กับภรรยาผู้ชั่วร้าย จนในปี 2538 รัฐบาลห้ามการจุดประทัด แต่ชาวบ้านก็หาวิธีเลี่ยงโดยการเปิดเทปของเสียงประทัดแทนการจุด
b อีกเทศกาลที่สำคัญของชาวเวียดนาม คือ "เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง" โดยนับตามจันทรคติตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านจัดประกวด "ขนมบันตรังทู" หรือขนมเปี๊ยะโก๋ญวน ที่มีรูปร่างกลม มีไส้ถั่วและไส้ผลไม้ พร้อมทั้งจัดขบวนแห่เชิดมังกรขึ้น เพื่อแสดงความเคารพต่อพระจันทร์ ในบางหมู่บ้านอาจประดับโคมไฟ พร้อมทั้งจัดงานขับร้องเพลงพื้นบ้านเวลาของเวียดนามตรงกับเวลาของไทยคือ เร็วกว่าเมืองกรีนิชประมาณ 7 ชั่วโมงสำหรับเวลาทำการของหน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข คือ 8.00-16.30 น. ซึ่งจะเปิดให้บริการตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ แต่หากเป็นพิพิธภัณฑ์จะเปิดให้บริการในวันเสาร์อีกครึ่งวันด้วย ร้านค้าเอกชนทั่วไปเปิดให้บริการระหว่าง 6.00-18.30 น. ธนาคารพาณิชย์จะให้บริการวันจันทร์-ศุกร์ ระหว่างเวลา 8.00-16.00 น. (หยุดพักเวลา 12.00-13.00 น.) และสำนักงานไปรษณีย์โทรเลขจะให้บริการตั้งแต่ 7.00-20.00 น. โรงงานอุตสาหกรรมทำงานวันจันทร์-ศุกร์ และวันเสาร์อีกครึ่งวัน
ปี 2551 มีวันหยุดประจำปีของเวียดนาม  ประมาณ 8 วัน  
วันขึ้นปีใหม่1 มกราคม
เทศกาลตรุษ4 วัน เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ หรือ “เต็ดเหวียนดาน” ซึ่งตรงกับวันตรุษจีน
วันปลดแอกกรุงไซ่ง่อน30 เมษายน 
วันแรงงานแห่งชาติ1 พฤษภาคม
วันชาติ2 กันยายน 
bนอกจากนี้ ยังมีวันสำคัญทางศาสนาที่แตกต่างกันออกไป สำหรับศาสนาพุทธ ทุกวันที่ 8 และ 15 ค่ำ เป็นวันพระ และวันสำคัญอื่นๆ ได้แก่ วันมาฆบูชา วิสาขบูชา อาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น